แต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์

คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ที่ ๓๘๔/๒๕๖๗

เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์

เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐

จึงแต่งตั้งให้ พระธัชฑล ฉายา รกฺชิโต นามสกุล อัตรัง อายุ ๒๗ พรรษา ๑ วุฒิการศึกษา น.ธ. เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ. (พุทธจิตวิทยา), พธ.ม. (จิตวิทยาชีวิตและความตาย) ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา เลขที่ ๐๔๑๒๐๐๒ สังกัด สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์

ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

คณะมนุษยศาสตร์ มจร. จัดกิจกรรม หลักทักษะอาชีพและการประกอบการ ภายใต้กิจกรรม เรื่อง ศิลปะอาชีพเป็นมงคลสูงสุดของชีวิตคนพิการ

คณะมนุษยศาสตร์ มจร. จัดกิจกรรม หลักทักษะอาชีพและการประกอบการ ภายใต้กิจกรรม เรื่อง ศิลปะอาชีพเป็นมงคลสูงสุดของชีวิตคนพิการ

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสีเขียว ณ บางด้วน ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 8.30 -16.00 น.

พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท. รศ.ดร. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ เมตตาเป็นประธานเปิดโครงการ จิตอัจฉริยะปัญญาการรู้คิด: การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมสัมมาอาชีวะของคนพิการทางสติปัญญากิจกรรม หลักทักษะอาชีพและการประกอบการ ภายใต้กิจกรรม เรื่อง ศิลปะอาชีพเป็นมงคลสูงสุดของชีวิตคนพิการ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสีเขียว ณ บางด้วน ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

โดยมี รศ.ดร.ประยูร สุยะใจ หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา เป็นประธานโครงการ และกล่าวให้กำลังใจและปิดโครงการโดย พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ, ผศ. ดร. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

เป้าหมาย 1) เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ ได้มีความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะและประสบการณ์อาชีพการปลูกผักเคล สามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจการเกษตรจำหน่ายผักเคลได้ 2) เพื่อให้การผลิตผักเคล การแปรรูปผักเคลเป็นเครื่องดื่ม การทำผักเคลอบกรอบ ข้าวเกรียบผักเคล โรตีผักเคล ทองม้วนผักเคล ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 3) เพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดสามารถนำไปจำหน่ายต่อไปได้

กลุ่มผู้ร่วมเรียนรู้ จำนวน 50 คน ประกอบด้วย

1) ผู้ร่วมเรียนรู้จากชมรมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 40 คน

2) กลุ่มผู้พิการทางสติปัญญาอำเภอพระประแดง จำนวน 10 คน

โดยได้รับความร่วมมือทั้งสิ้น 11 เครือข่ายส่วนงาน

1) เกษตรจังหวัดสมุทรปราการ เกษตรอำเภอบางพลี เกษตรอำเภอเมือง และเกษตรอำเภอพระประแดง

2) เกษตรสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ

3) ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรปราการ

4) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการพระประแดง

5) นายแพทย์สาธารสุขจังหวัด หรือผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ และผู้อำนวนการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน 6) นายกเทศมนตรีตำบลบางเมือง

7) ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ อ.ชาตรี สรงประเสริฐ และคณะ นักศึกษาจิตอาสา

8 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.บางปลา อ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

9) นายกสโมสรโรตารี่เอราวัณ จังหวัดสมุทรปราการ

10) ประชาชน/ผู้สนใจชุมชนบางด้วนและชุมชนใกล้เคียง

11)คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รวมรูปภาพภายในงาน