ภาควิชาภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย       : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Thai

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)      : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
ชื่อย่อ (ไทย)       : ศศ.บ. (ภาษาไทย)          
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Thai)
ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : B.A. (Thai) 
พระมหาฉันท์ จิรเมธี (โลวะลุน), ผศ

การศึกษา
พธ.บ. (ภาษาไทย)
ศศ.ม. (ภาษาไทย)

ผศ.ดร.อดุลย์ คนแรง

การศึกษา
ป.ธ. ๙
พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)
ปร.ด. (ภาษาไทย)

อาจารย์

การศึกษา
พธ.บ. (ภาษาไทย)
ศศ.ม. (ภาษาไทย)
พธ.ด.(ภาษาไทย)

พระศรีสิทธิมุนี ผศ.ดร.

การศึกษา
ป.ธ. ๙
พธ.บ. (การสอนภาษาอังกฤษ)
ศษ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ)
พธ.ด. (ภาษาศาสตร์)

พระมหาขวัญชัย กิตฺติปาโล, ผศ.ดร.

การศึกษา
พธ.บ. (สังคมศึกษา)
รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการบริหารงานบุคคล)

เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้มีความรู้ความเข้าใจ ภาษาไทย วรรณกรรมไทยและวัฒนธรรมไทย
   ๑. มีความรู้ความเข้าใจ ภาษาไทย วรรณกรรมไทยและวัฒนธรรมไทย
   ๒. มีความสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ภาษา วรรณกรรมในการสื่อสารด้วยภาษาไทย
   ๓. มีความสามารถบูรณาการความรู้ ทักษะด้านภาษาไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างนวัตกรรมทางภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรม
   ๔. มีความสามารถในการสื่อความหมาย ภาษา การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรและใช้สารสนเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
   ๕. มีความรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ รู้จักการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติและค่านิยมที่ดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีวินัยตรงต่อเวลา มีจิตอาสาต่อสังคม และมีศรัทธาอุทิศตนสนองงานกิจการคณะสงฆ์
ผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย สามารถสอบเข้าทำงานราชการในตำแหน่งที่ กคศ., ก.พ. กำหนดคุณสมบัติว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต, หรือทำงานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณวุฒิด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสามารถเข้าทำงานได้ตามในหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
   ๑) ครู อาจารย์ / อนุศาสนาจารย์
   ๒) นักวิจัย/นักวิชาการด้านภาษา
   ๓) ปฏิบัติงานการศาสนา/ปฏิบัติงานวัฒนธรรม
   ๔) ประชาสัมพันธ์ / สื่อสารมวลชน
   ๕) นักพิสูจน์อักษร/นักบริหารงานทั่วไป
   ๖) นักวิชาการอิสระ( นักเทศน์/ปาฐกถา/นักเขียน/ศาสนพิธีกร)
นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขา ภาษาไทย การสอนภาษาไทย วรรณคดีไทย หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๑๔๐ หน่วยกิต หลักสูตร ๔ ปี

  • ภาคการเรียนที่ ๑ ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม
  • ภาคการเรียนที่ ๒ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม
  • ภาคฤดูร้อน           ระหว่างเดือนเดือนเมษายน – พฤษภาคม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๗๙ หมู่ ๑ ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ/สามเณร
๑) ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
๒) มีคุณสมบัติอื่น ๆตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามประกาศ “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ หรือ
๓) ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์
๑) ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
๒) มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามประกาศ “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑” หรือ
๓) ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑. สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ดร.จักษฐาปนิฏฐ์ บุญฤทธิ์ โทร.๐๙๕ ๖๔๙ ๑๙๕๕
๒.ภาควิชาภาษาไทย พระมหาฉันท์ จิรเมธี, ผศ. โทร. ๐๘๑ ๔๔๙ ๐๖๗๔

แผนการเรียนการสอน ประจำปี ๒๕๖๖